1/05/2558

Web Design และ blog คืออะไร

Web Design คืออะไร
Web Design คือการออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งสำคัญมากๆ ในหลายๆบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านนี้โดยตรง 
จะต้องมีพนักงานที่ทำหน้าที่ Web Design อย่างเดียวเท่านั้น บางทีก็รวมคนเขียน Code HTML 
ไปด้วยและคนทำ Graphic ไปด้วย แต่บางทีก็มองว่า Design อย่างเดียวเพียงแค่ร่างๆออกมาเท่านั้น 
เพราะการเขียน Code HTML นั้นไม่ใช่ปัญหา ในที่นี้เราจะรวมเอาทั้ง Design + Graphic ไปด้วย 
โดยเราจะบอกแนวให้เป็น Step สำหรับ Web Design ครับ

งาน Web Design เป็นงานที่ค่อนข้างยากและต้องอาศัยพรสวรรค์พอสมควร + กับรสนิยมด้วย 
เพราะบางคนออกแบบเว็บไซต์มาตนเองคิดว่าสวยมากแต่หลายๆสายตามองว่าไม่สวยก็มี
ดังนั้นจึงต้องเกี่ยวกับรสนิยมไปด้วย แต่หลายคนที่มีพรสวรรค์ออกแบบมา
ก็ทำให้คนส่วนมากมองว่าสวยเหมือนกัน 


ประโยชน์ Web Design
1. เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการขององค์กร หรือบริษัท 
รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย
2. เพื่อใช้ในลักษณะการให้บริการแก่ลูกค้าหรือสมาชิกขององค์กร หรือบริษัท 
โดยการนำเว็บไซต์มาเป็นเครื่องมือ ช่วยในการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าหรือสมาชิกเป็นหลัก


blog คืออะไร
เป็นคำรวมมาจากคำว่า (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง 
ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด
 บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ 
ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ 
บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน 
ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" 
ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก 
และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อก เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก 
โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น 
การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน 
นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ 
ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน 
นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น 
เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น 
และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

ที่มา blog
บล็อกได้เริ่มมีบทบาท มากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ 
เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ 
โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว 
ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด 
โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่าย น้อยกว่า
 สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา
 ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น

ประโยชน์ blog
1. การใช้ Blog เพื่อประสานงานภายในองค์กร
ใช้ Blog เป็นที่ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ เช่นใช้เป็นพื้นที่ให้ทีมงานแต่ละคนของ Project นั้น ๆ 
เข้ามาทำ Brain Storming หรือ update ความคืบหน้าของโปรเจคท์ 
โดยไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำ report ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ
แทนการประสานงานต่าง ๆ ด้วยวิธีส่งอีเมล์หากัน ซึ่งการใช้ Blog มาแทนที่การใช้อีเมล์ 
ทำให้ไม่ต้องมานั่งค้นหาเมล์เก่า ๆ จากในโปรแกรมอย่าง outlook express 
เพราะ Blog สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ง่าย และสามารถแยกเป็นหมวดหมู่ได้อย่างชัดเจน

2. ใช้ Blog เพื่อบริหารจัดการข้อมูลความรู้ต่าง ๆ
Blog มีประโยชน์ในทั้งสองทางคือทั้งผู้อ่าน Blog และผู้เขียน Blog 
โดยปกติแล้ว Blog เป็นช่องทางให้ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลต่าง ๆ จาก Blog ของเราได้ง่าย 
โดยสามารถใช้เป็น knowledge base ภายในองค์กรต่าง ๆ ได้ แต่ในทางกลับกัน 
ผู้เขียน Blog หรือ Blogger ก็ต้องคอยหาข้อมูลมาเขียน ดังนั้น Blog 
จึงเปรียบเสมือนเป็นช่องทางการเรียนรู้ ที่ไม่มีวันสิ้นสุดฃ

3. ใช้ Blog เป็นช่องทางในการหาบุคลากรมาร่วมทำงานด้วย (Recruitment)
ถ้า คุณวางภาพลักษณ์บริษัทของคุณว่าเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจแล้ว 
ผู้คนที่อยู่ในสายงานธุรกิจเดียวกันกับคุณก็จะให้ความสนใจใน Blog ของคุณด้วย 
เพราะคนเหล่านั้นก็ต้องการ update ข่าวสารในวงการให้กับตัวเองเหมือนกัน
หากคนเหล่านี้เข้ามาโต้ตอบหรือพูดคุยกันใน Blog ของคุณ 
คุณอาจจะเห็นแววของบุคลากรที่น่าสนใจ 
และชักชวนเขาเพื่อเข้ามาเสริมศักยภาพให้กับองค์กรของคุณก็เป็นได้

4. ใช้ Blog เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ หรือไอเดียใหม่ๆ
ด้วย ความที่ Blog ดูเป็นกันเอง จึงให้ความรู้สึกที่ไม่เป็นทางการออกมาได้อย่างไม่ขัดเขิน 
ดังนั้นบริษัทของคุณสามารถเอา feedback ต่าง ๆ ที่กลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าของคุณ 
มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ เช่น คุณสามารถลองนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ลงไปใน Blog 
แล้วดูว่าจะมีผู้คนสนใจมาน้อยแค่ไหน หรือว่าให้ feedback กลับมายังไงบ้าง

วิธีใช้ blog
ผู้ ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและ 
อ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน 
เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก 
และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ 
ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้เขียนบล็อกใน ปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า 
ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก

สำหรับผู้อ่านบล็อกจะ ใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป 
และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลง ทะเบียนในบางบล็อก 
นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป 
ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

Webboard และ Website คืออะไร

Webboard คืออะไร?
     WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา
เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 
โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ 
และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ 
ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoard จะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ 
ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า 
กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการในรูปแบบใหม่ ของระบบการสนทนาใน BBS (Bulletin Board System) 
ที่เคยได้รับความนิยม ก่อนที่ระบบเครือข่าย Internet จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น WebBoard 
ที่พบเห็นกัน มีอยู่หลายรูปแบบ 
 
    ข้อดีของการใช้ Webboard
    * เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
    * ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้เยี่ยมชม
    * ผู้พัฒนาโฮมเพจ สามารถใช้เป็นช่องทางในการ ประกาศข่าวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
    * ง่ายในการใช้งาน แม้จะเป็นผู้เริ่มต้น เมื่อเทียบกับการใช้ Mailing list หรือ News Group 


Website คืออะไร
เว็บไซด์ คือ ศูนย์รวบรวมความรู้และแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ เช่น ข่าวสาร
ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา เป็นต้น ปัจจุบันเว็บไซด์ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงธุรกิจแทบทุกชนิด 
ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบริษัท ร้านค้า ชั้นนำ ต่างๆทั่วไป เหตุผลหนึ่งในการมีเว็บไซด์นั้น
เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจนั้นๆ 
อีกทั้งเว็บไซด์ยังสามารถตอบสนองและครอบคลุมผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย 
ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย เพราะสามารถเข้าเยี่ยมชมข้อมูลเว็บไซด์จากอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลก
ขั้นตอนแรกในการขอเริ่มใช้บริการเว็บไซด์นั้น นักลงทุนจะต้องไปติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย 
เพื่อขอจดทะเบียนชื่อเว็บไซด์ ( Domain name ) และพื้นที่ในจัดทำเว็บไซด์ ( hosting ) ก่อน 
โดยการจดทะเบียนขอใช้บริการเว็บไซด์นั้น จะมีสกุลดอทให้เลือกหลากหลายประเภท

จุดประสงค์หลักในการจัดสร้างเว็บไซด์นั้น
ส่วน ใหญ่แล้วต้องการจัดทำขึ้นมาเพื่อพรีเซ็นต์ผลงานของตนเองหรือเพื่อเผยแพร่ 
ข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน และอีกกลุ่มหนึ่งจัดทำเว็บไซด์ขึ้นมาเพื่อธุรกิจการค้า
หรือเพื่อสร้างรายได้ โดยธุรกิจบนเว็บไซด์หลัก มีดังต่อไปนี้

Domain and Hosting provider ตัวแทนรับจดทะเบียนชื่อโดเมนเนมและจำหน่ายพื้นที่จัดทำเว็บไซด์ 
เป็นการเปิดให้บริการสำหรับผู้ที่สนใจต้องการอยากมีเว็บไซด์เป็นของตนเอง หรือบริษัท ห้างร้าน ต่างๆ

E-commerce หรือ ร้านค้าออนไลน์ เป็นการเปิดให้บริการสั่ง-ซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเว็บไซด์ 
อาทิเช่น เสื้อผ้า น้ำหอม เครื่องประดับ เป็นต้น

Job ศูนย์ประกาศรับสมัครงาน เป็นการจัดระบบให้บริการสมัครงานออนไลน์ โ
ดยผู้สมัครสามารถฝาก resume หรือประวัติส่วนตัวได้โดยการสมัครสมาชิก 
หรือสามารถค้นหาตำแหน่งงานว่างต่างๆได้ 
และสำหรับบริษัทต่างๆที่ต้องการประกาศรับสมัครพนักงานในตำแหน่งต่างๆ

Horoscope ดูดวง ในปัจจุบันถือว่าเป็นธุรกิจที่สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วชนิดหนึ่ง 
หลักๆจะเป็นการทำนายในรูปแบบของการผูกดวง ไพ่ยิปซี เซียมซี ฮวงจุ้ย เป็นต้น

Open source และ Bit torrent คืออะไร

Open source คืออะไร
คือ วิถีทางใหม่แห่งการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยวางอยู่บนแนวคิด 
ที่อาศัยความร่วมมือของนักพัฒนาทั่วโลก เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่ดีกว่า 
และเป็นสิทธิของทุกๆ คนร่วมกันอย่างแท้จริง
โครงการซอฟต์แวร์ต้น รหัสเปิด (Open Source Software Project) 
ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มีเป้าหมาย 
เพื่อสนับสนุนการใช้ และ การพัฒนาซอฟต์แวร์ Open Source ทั้งนี้ได้มีการพัฒนา 
ซอฟต์แวร์พื้นฐาน เช่น Linux ให้มีการใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง อีกทั้ง มีบริการให้ความรู้ 
และสนับสนุนผู้สนใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์ Open Source

ประโยชน์ Open source
1. คุณมีเสรีภาพที่จะทำอะไรกับซอฟต์แวร์ที่คุณได้รับมาก็ได้ แจกเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง 
ทำขาย แก้ไขไว้ใช้เอง หรือแก้ไขแล้วจำหน่ายจ่ายแจกก็ได้
2. เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้คุณสามารถที่จะแก้ไขซอฟต์แวร์ได้ 
ซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์จะต้องเปิดเผยสู่สาธารณะด้วย


Bit torrent คืออะไร
Bit torrent คือการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ตในลักษณะคล้ายๆ 
กับ Peer to Peer ในระบบ Network แต่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนสูงกว่า 
โดยผู้ที่คิดค้นการแลกเปลี่ยนไฟล์แบบ Bit torrent 
คือโปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันชื่อ Bram Cohen (แบรม โคเฮน) 
ซึ่งหลังจากเปิดตัวได้ไม่นานก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะสามารถแลก 
เปลี่ยนไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เช่น ภาพยนตร์ เพลง ฯลฯ ได้อย่างไม่มีปัญหา

ประโยชน์ Bit torrent

1. การแบ่ง file กันและกัน ส่งให้เพื่อน รับจากเพื่อน
2. ประหยัดเงิน
3. สะดวกในการหา

วิธีใช้ Bit torrent
อย่าง แรกคงต้องไปหา download Application Torrent Client มาก่อน ก็
เลือกเอานะครับแล้วแต่ชอบครับหาได้จาก Site ต่างๆที่เปิดให้ download ตามข้างต้น 
ต่อไปคงต้องไปตามหา Tracker Server ซึ่งบาง Tracker Server ก็ฟรี 
สามารถเข้าไปใช้ได้เลยเพียงแค่สมัครสมาชิกเท่านั้น บาง Tracker Server 
ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ก็สามารถหา Search ได้จาก http://www.google.com (http://www.google.com
แล้วลองหา Tracker ที่มี File รูปแบบที่เราต้องการ แล้วทำการ load Torrent File นั้นมา 
แล้วใช้ Application Client เปิด File Torrent นั้น แล้วทำการ Save ลงเครื่อง 
เท่านี้โครงข่าย Bittorrent ก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วครับ File ต่างๆ จะเริ่มทยอย 
และคุณเองก็จะส่ง File ที่คุณ download มาไปในตัวเป็นการแบ่งปันกันไป 
ยิ่งถ้าโครงข่ายคุณมีคนเข้ามาเยอะเท่าไหร่ File ของคุณก็จะมีการ Tranfer 
กันมากขึ้นทำให้เสร็จเร็วขึ้น

VPN (Virtual Private Network) คืออะไร

VPN (Virtual Private Network) คืออะไร
VPN หรือ Virtual Private Network หมาย ถึง เครือข่ายเสมือนส่วนตัว 
ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ หรืออาจจะวิ่งบน เครือข่ายไอพีก็ได้ 
แต่ยังสามารถ คงความเป็นเครือข่ายเฉพาะ ขององค์กรได้ ด้วยการ เข้ารหัสแพ็กเก็ตก่อนส่ง 
เพื่อให้ข้อมูล มีความปลอดภัยมากขึ้น
อย่างไรก็ดี คำว่า VPN จะครอบคลุมทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ 
(เช่น Gateway และ Router), ซอฟต์แวร์ และส่วนที่เป็นไฟร์วอลล์ 
การ เข้ารหัสแพ็กเก็ต เพื่อทำให้ข้อมูล มีความปลอดภัยนั้น ก็มีอยู่หลายกลไกด้วยกัน 
ซึ่งวิธีเข้ารหัสข้อมูล (encryption) จะทำกันที่เลเยอร์ 2 คือ Data Link Layer แต่ปัจจุบัน 
มีการเข้ารหัสใน IP Layer โดยมักใช้เทคโนโลยี IPSec (IP Security)
ปกติ แล้ว VPN ถูกนำมาใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีสาขาอยู่ตามที่ต่างๆ และต้องการ ต่อเชื่อมเข้าหากัน 
โดยยังคงสามารถ รักษาเครือข่ายให้ใช้ได้เฉพาะ คนภายในองค์กร 
หรือคนที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ลูกค้า, ซัพพลายเออร์ เป็นต้น
นอก จากนี้แล้ว กลไกในการสร้างโครงข่าย VPN อีกประเภทหนึ่ง คือ MPLS (Multiprotocal Label Switch) 
เป็นวิธีในการส่งแพ็กเก็ต โดยการใส่ label ที่ส่วนหัว ของข้อความ และค่อยเข้ารหัสข้อมูล 
จากนั้น จึงส่งไปยังจุดหมายปลายทาง เมื่อถึงปลายทาง ก็จะถอดรหัสที่ส่วนหัวออก 
วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้วางระบบเครือข่าย สามารถแบ่ง Virtual LAN เป็นวงย่อย ให้เป็น เครือข่ายเดียวกันได้
ตัวอย่าง เช่น บริษัท A ก็จะได้ VPN label A ที่หัวข้อความ ของทุกแพ็กเก็ต 
บริษัท B ได้รหัสที่หัวข้อความเป็น B เพื่อส่งข้อมูล ข้อมูลที่ส่งออกไป 
ก็จะวิ่งไปหาปลายทางตาม Label ของตน ซึ่งผู้วางระบบ สามารถเพิ่มกลุ่มในวง VLAN 
ได้อย่างไม่จำกัด

รูปแบบบริการ VPN
บริการ VPN แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ 
1. Access VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN 
จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ใน 2 ลักษณะ 
โดยลักษณะแรก เป็นการเข้าถึงจากไคลเอ็นต์ใดๆ ก็ได้ โดยอาศัย 
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ ซึ่งจะมีการเข้ารหัสในการ ส่งสัญญาณ 
จากเครื่องไคลเอ็นต์ ไปยังไอเอสพี และลักษณะที่สอง เป็นการเข้าถึง 
จากเครื่องแอ็กเซสเซิร์ฟเวอร์ (Network Access Server-NAS) 
โดยเริ่มต้นจาก ผู้ใช้หมุนโมเด็ม ติดต่อมายังไอเอสพี และจากนั้น 
จะมีการเข้ารหัสข้อมูล และส่งต่อไปยังปลายทาง
2. Intranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN 
ที่ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น อาทิ การต่อเชื่อมเครือข่าย 
ระหว่างสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และสาขาย่อย ในต่างจังหวัด เสมือนกับ การทดแทน 
การเช่าวงจรลีสไลน์ ระหว่าง กรุงเทพกับต่างจังหวัด โดยที่แต่ละสาขา สามารถ 
ต่อเชื่อมเข้ากับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในท้องถิ่นของตน เพื่อเชื่อมเข้า โครงข่าย VPN 
ขององค์กรอีกทีหนึ่ง
3. Extranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย ที่คล้ายกับ Intranet VPN 
แต่มีการขยายวงออกไป ยังกลุ่มลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพาร์ตเนอร์ 
เพื่อให้ใช้เครือข่ายได้ จุดสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกติดตั้ง VPN คือการเลือก 
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่วางระบบรักษาความปลอดภัย เป็นอย่างดี มีส่วนอย่างมาก 
ในการส่งข้อมูลบน VPN ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะถ้า ไอเอสพี
 มีระบบรักษาความปลอดภัย ที่รัดกุม ก็จะช่วยให้ ข้อมูลที่ส่งมา มีความปลอดภัยมากขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจาก VPN
ประโยชน์ ของ การติดตั้งเครือข่ายแบบ VPN จะช่วยองค์กร ประหยัดค่าใช้จ่าย 
เพราะไม่ว่าผู้ใช้องค์กร จะอยู่ที่ใดในโลก ก็สามารถเข้าถึง เครือข่าย VPN ของตนได้
 โดยการต่อเชื่อม เข้ากับ ผู้ให้บริการท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้ช่วยลด ค่าใช้จ่าย 
ในการติดต่อสื่อสาร และสามารถ ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของ การดูแลรักษาระบบอีกด้วย 
นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย VPN ยังสามารถ ให้ความคล่องตัว ในการเปลี่ยนแปลง 
เช่น การขยายเครือข่าย ในอนาคต 
นอก จากนี้แล้ว ในแง่ของ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต การออกบริการ VPN ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง 
ที่ช่วยให้ ลูกค้าของไอเอสพี ประหยัดค่าใช้จ่าย และสะดวกสบายมากขึ้น 
การคอนฟิกระบบสำนักงานใหญ่
ในการทดสอบความใช้งานได้ของ VPN ให้คุณไปที่ฝั่งซ้ายมือของหน้าต่าง MMC Routing and Remote Access
บนระบบของสำนักงานสาขาย่อย หรือสำนักงานใหญ่ แล้วไปที่รายการอินเทอร์เฟซต่างๆ บนระบบ
จากนั้นให้คลิ้กขวาที่อินเทอร์เฟซ Demand-Dial ที่พิจารณา แล้วเลือก Connect
ถ้าคุณเห็นสถานะเป็น "Connected" ใน MMC ก็หมายความว่า VPN ของคุณสามารถทำงานได้แล้ว
แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น ขอให้คุณทบทวนขั้นตอนที่ปฏิบัติมาแล้วเพื่อหาข้อผิดพลาดอีกครั้ง
หลัง จากที่พบว่า VPN สามารถทำงานได้ ให้คุณไปที่ไคลเอ็นต์
และใช้คำสั่ง Ping ทดสอบการเชื่อมต่อโดยให้ Ping ตัวเอง, ดีฟอลต์เกตเวย์ (เซิร์ฟเวอร์โลคอล)
และเซิร์ฟเวอร์ของสำนักงานอีกฝั่งหนึ่ง (ทั้งที่เป็นแบบสาธารณะ และแบบ VPN) ถ้าสมมติไม่มีปัญหาอะไรอีก
สิ่งที่ต้องทดสอบเป็นอันดับสุดท้าย คือการปฏิบัติหน้าที่ของอินเทอร์เฟซ Demand-Dial โ
ดยในหน้าต่าง MMC Routing and Remote Access ให้คุณคลิ้กขวาที่อินเทอร์เฟซ Demand-Dial
แล้วเลือก Disconnect เพื่อตัดการเชื่อมต่อระบบ VPN จากนั้นให้กลับไปยังไคลเอ็นต์ตัวที่คุณใช้เมื่อครั้งก่อน Ping
ไปที่เครื่องที่สำนักงานอื่นอีกครั้งหนึ่ง ถ้าทุกอย่างทำงานได้ดี คุณก็ควรเห็นข้อความตอบรับจากเครื่องปลายฝั่ง
แล้วถ้าคุณรีเฟรชหน้าต่าง MMC Routing and Remote Access บนเซิร์ฟเวอร์ คุณก็ควรเห็นว่าอินเทอร์เฟซ Demand-Dial
 มีการเชื่อมต่อข้อมูลด้วย แต่หากการ Ping ครั้งแรกไม่สำเร็จ ให้ลองพยายามซ้ำอีกครั้ง
 ซึ่งโดยทั่วไป ระบบ VPN จะใช้เวลา 2 ถึง 12 วินาทีสำหรับการเชื่อมต่อ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรบนเครือข่ายด้วย


TCP/IP คืออะไร

TCP/IP คืออะไร
TCP/IP คือระบบมาตรฐานที่รองรับการติดต่อในเครือข่าย ซึ่งคำถามเริ่มต้นคือ เครือข่ายคืออะไร
ในชั่วโมงนี้จะบอกถึงความจำเป็นของเครือข่าย และเมื่อจบบทนี้จะสามารถ
-นิยามเครือข่ายได้
-อธิบายเกี่ยวกับ Network Protocol ได้
-ทราบถึงที่มาของ TCP/IP
-รู้ถึงฟีเจอร์ที่สำคัญของ TCP/IP
-ระบุโครงสร้างองค์กรที่ใช้ TCP/IP และ Internet (ICANN, IANA)
-อธิบายได้ว่า RFCs คืออะไร และหาจากที่ใด


Network และ Protocol
ใน การต่อเชื่อมเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยมีเครื่องที่ร้องขอข้อมูล และมีเครื่องที่ให้ข้อมูล 
มีสื่อที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์หรือสายเครือข่าย

การพัฒนาของ TCP/IP
มาตรฐานโปรโตคอล TCP/IP เริ่มต้นในทศวรรษที่ 1970 หรือ 1969 
โดยมีการพัฒนาเพื่อรองรับในเครือข่าย Internet และ Local area Network
TCP/IP เป็นผลพลอยได้จากการพัฒนาเทคโนโลยี่โดยเฉพาะเทคโนโลยี่ในด้านการทหาร 
และมีการติดต่อเครือข่ายต่างๆ โดยจากเดิมที่ใช้ในลักษณะรวมศูนย์ 
เริ่มมีการกระจายเพื่อป้องกันที่ศูนย์มีปัญหาเนื่องจากการโจมตีด้วยระเบิด สงคราม 
ซึ่งจากสิ่งเหล่านี้ก็พัฒนามาเป็น ARPAnet
ชื่อของ Defense Department’s Advanced Research Projects Agency (ARPA) 
มีลักษณะกระจายเครือข่าย และจุดเริ่มนี้เองเป็นที่มาของ TCP/IP
ในไม่ กี่ปีนี้ National Science Foundation ต้องการที่สร้างเครือข่ายเพื่อต่อเชื่อมสถาบันการพัฒนา
และได้เปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นที่รู้จักในคำว่า Internet


Protocol คืออะไร

Protocol คืออะไร
คือระเบียบพิธีการในการ ติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 
จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ 
รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ

แนวคิดด้านสื่อสารข้อมูล
หัวใจ ในการสื่อสารข้อมูลอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สื่อสารกันได้อย่างอัตโนมัติ 
โดยเน้นการสื่อสารที่แตกต่างกันทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ 
เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรมยี่ห้อหนึ่ง ติดต่อผ่านข่ายสื่อสารไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกยี่ห้อหนึ่ง 
โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงในระบบสื่อสารที่มาจากหลายบริษัทผู้ผลิต
ด้วย แนวคิดนี้ องค์กรว่าด้วยเครื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันในนาม ISO 
จึงได้วางมาตรฐานโปรโตคอลไว้เป็นระดับ เพื่อให้การสื่อสารต่าง ๆ 
ยึดหลักการนี้และเรียกมาตรฐานโปรโตคอลนี้ว่า OSI PROTOCOL 
โดยวางเป็นระดับ 7 ชั้น

การทำงานของระดับโปรโตคอลใน LAN
ระบบ LAN ที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ Ethernet, Token Ring และ FDDI 
โปรโตคอลที่ใช้ประกอบเป็น LAN ตามมาตรฐานข้อกำหนด 
จึงจัดอยู่ในระดับโปรโตคอลระดับ 1 และ 2 เท่านั้น
อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็น LAN ที่มีผู้นิยมใช้กันมาก อีเทอร์เน็ตมีโปรโตคอลในระดับชั้นฟิสิคัล (Physical) 
ได้หลายรูปแบบ ตามสภาพความเร็วของการรับส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณและตัวกลางที่ใช้รับส่ง 
การกำหนดชื่อของ LAN แบบนี้ใช้วิธีการกำหนดเป็น XXBASEY เมื่อ XX คือความเร็ว BASE 
คือวิธีการส่งสัญญาณเป็นแบบ Digital Baseband ส่วน Y คือตัวกลางที่ใช้ส่งสัญญาณ 
เช่น 10BASE2 หมายถึงส่งความเร็ว 10 เมกะบิต แบบ Thin Ethernet 
ตัวกลางเป็นสายโคแอกเชียล 10BASE-T หมายถึงส่งความเร็ว 10 เมกะบิต แบบสาย UTP 
และถ้า 10BASE-FL ก็จะเป็นการใข้สายเส้นใยแก้วนำแสง
สัญญาณทางไฟฟ้าของอีเทอร์เน็ตเป็นแบบดิจิตอล 
จึงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางที่ใช้ระเบียบข้อกำหนดเหล่านี้จึงอยู่ใน กลุ่มโปรโตคอลระดับฟิสิคัล 
ส่วนในระดับโปรโตคอลดาต้าลิงค์เป็นวิธีการกำหนดแอดเดรสระหว่างกันในเครือ ข่าย 
ซึ่งแต่ละสถานีจะมีแอดเดรสเป็นตัวเลขขนาด 48 บิต การรับส่งเป็นการสร้างข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเรียกว่า "เฟรม" 
การส่งข้อมูลมีวิธีการใส่ข้อมูลแอดเดรสต้นทางและปลายทางและส่งกระจายออกไป
 ผู้รับจะตรวจสอบแอดเดรสของเฟรมถ้าตรงกับแอดเดรสตนก็จะรับข้อมูลเข้ามา

โปรโตคอลชั้นเน็ตเวิร์ค
ใน ระดับสามนี้ทำหน้าที่เชื่องโยงระหว่างเครือข่ายย่อย เราอาจเรียกโปรโตคอลนี้ว่า 
เราติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) การกำหนดเส้นทางนี้จะต้องวางมาตรฐานกลางสำหรับการเชื่อมโยงอุปกรณ์ 
ซึ่งมาจากระดับล่างหลาย ๆ มาตรฐาน วิธีการหนึ่งที่นิยมคือ 
การกำหนดแอดเดรสของอุปกรณ์ระดับล่างใหม่ และให้แอดเดรสเป็นมาตรฐานกลาง 
เช่น การใช้โปรโตคอลดินเตอร์เน็ต (IP) ทุกอุปกรณ์มีแอดเดรสของตนเองมีการสร้างรูปแบบฟอร์แมตข้อมูลใหม่
ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) ดังนั้น โปรโตคอลในระดับนี้จึงรับส่งข้อมูลกันเป็นแพ็กเก็ต 
ทุกแพ็กเก็ตมีการกำหนดแอดเดรสต้นทางและปลายทางโดยไม่ต้องคำนึงว่าระดับล่าง ที่ใช้นั้นคืออะไร
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่ง และรับรู้โปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คนี้จะทำหน้าที่เป็นแปลงแพ็กเก็ตให้เข้า 
สู่เฟรมข้อมูลในระดับสอง และรับเฟรมข้อมูลระดับสองเปลี่ยนมาเป็นแพ็กเก็ตในระดับสามเช่นกัน 
ข้อเด่นในที่นี้ คือ ทำให้สามารถเชื่อม LAN ทุกมาตรฐานเข้าด้วยกันได้ ในระดับนี้ยังมีมาตรฐานโปรโตคอลอื่น ๆ
เช่น IPX ของบริษัทแน็ตแวร์ เป็นต้น
ลองนึกเลยต่อไปว่า ขณะที่เราใช้โปรแกรมวินโดว์ส 95 
เป็นเครื่องไคลแอนต์ (Client) ต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเชื่อมไปยังเครื่องให้บริการ (เซิร์ฟเวอร์) เ
ครื่องใดเครื่องหนึ่ง นั่นหมายความว่า เราเชื่อมกันในระดับ 3 คือใช้ IP โปรโตคอล 
ทำให้ไม่ต้องคำนึงว่าทางฝ่ายไคลแอนต์หรือเซิร์ฟเวอร์ใช้ LAN แบบใด
เครื่องไคลแอนต์ที่ใช้วินโดว์ส 95 ทำให้สามารถเปิดงานได้หลาย ๆ วินโดว์สพร้อมกันได้ 
ดังนั้นในเครื่องหนึ่งมีแอดเดรสในระดับสามตัวเดียว 
เชื่อมไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มีแอดเดรสในระดับสามตัวเดียวเช่นกัน แต่เปิดงานหลายงานได้ 
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างโปรโตคอลในระดับสี่ แยกงานต่าง ๆ เหล่านี้ออกจากกันเราเรียกว่า 
โปรโตคอลระดับ 4 ว่า "ทรานสปอร์ต" (Transport)"
ในระดับ 4 ก็มีแอดเดรสแยกอีก แต่คราวนี้เราเรียกว่า "หมายเลขพอร์ต" ซึ่งจะทำให้ตัวรับและตัวส่ง 
ทั้งฝ่ายไคลแอนต์และเซิร์ฟเวอร์ติดต่อแอดเดรสIP เดียวกัน แต่แยกกันด้วยโปรโตคอลระดับ 4 
ในกรณีของอินเทอร์เน็ตจึงมีโปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) 
เป็นตัวแยกที่ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถติดต่อกับเครื่องอื่นได้ หลาย ๆ งานพร้อมกัน
การแบ่งแยกกลุ่มโปรโตคอลนี้เป็นหนทางอันชาญฉลาดของ 
ผู้ออกแบบที่ทำให้ระบบสื่อสารข้อมูลดำเนินไปอย่างมีระบบ 
จนสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง

ManและWan คืออะไร

Man คืออะไร
MAN (Metropolitan Area Network)
ระบบ เครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ 
หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น 
เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก 

Wan คืออะไร
คือ ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ 
เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ ที่อยู่ห่างกันไกล
อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง 
หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ 
ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แลน 
ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) 
ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย
ผู้รับผิดชอบทางด้าน เครือข่ายขององค์การต้องขอใช้บริการต่างๆ 
เช่น บริการเชื่อมต่อผ่านทางเฟรมรีเลย์ (Frame Relay) คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) 
หรือ ISDN ผู้ให้บริการในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่เหมือนกันที่สามารถให้บริการได้เช่น 
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), ดาต้าเน็ด, องค์การโทรศัพท์, 
บริษัทคอม, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
เทคโนโลยี แวน แตกต่างจากแลนมาก แลนส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานรองรับส่วนเทคโนโลยีแวน 
จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สร้างมาจากหลายบริษัทบางส่วนก็มีมาตรฐาน 
บางส่วนก็เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ก็แตกต่างกันไปทางด้านลักษณะ
ด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และก็ราคาด้วย สิ่งที่คิดว่ายากที่สุดในการสร้างเครือข่ายแวน
ก็คือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ 
และสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันได้
ข่ายงาน วิทยุสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเครื่องรับที่ใช้ในการรับและส่งข้อความ 
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การกระจายเสียงข่าว และแฟ้มข้อมูล 
ถึงแม้ในขณะนี้ข่ายงานลักษณะนี้จะมีการทำงานได้ในวงจรจำกัด 
เพียงในเนื้อที่เมืองหลวงก็ตาม แต่ในอนาคตเมื่อมีการนำระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเข้ามาใช้ 
ก็จะทำให้ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สายนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้าง ขวางมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีแวน มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
1. ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)
2. อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Switch, Router, CSU/DSU (Channel Dervice Unit/Data Service Unit)
3. ระบบจัดการที่อยู่ (Internet work Addressing)
4. โปรโตคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)