8/30/2555

ปรากฏการณ์บลูมูน


ดาราศาสตร์ ชวนดูปรากฏการณ์บลูมูน 31 ส.ค.


สดร. เผย 31 สิงหาคมนี้เกิดปรากฏการณ์บลูมูนหรือดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน 

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ใน

วันที่ 31 สิงหาคม 2555 ที่จะถึงนี้ จะเกิดปรากฏการณ์บลูมูล (Blue Moon) หรือ ดวงจันทร์

จะเต็มดวงรอบที่สอง ในเดือนเดียวกัน ทั้งนี้ โดยปกติแล้วปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวง

 (Full Moon) จะเกิดขึ้นเพียงเดือน ละ 1 ครั้งเท่านั้น หากเดือนไหนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง

 2 ครั้ง จะเรียกดวงจันทร์เต็มดวงในครั้งที่สองว่า "บลูมูน" ในภาษา อังกฤษมีสำนวนว่า 

Once in a blue moon หมายถึงนานๆ จะเห็นสักครั้ง หรือเปรียบ ได้กับคำว่าRarely ใน

ภาษาอังกฤษ ปรากฏการณ์บลูมูนเกิดขึ้นเนื่องจากใน 1 ปี มี 12 เดือน และบาง เดือนมี

30 วัน บาง เดือนมี 31 วัน แต่ว่ารอบของดวงจันทร์มีเพียง 29.53059 วันต่อเดือน และ

ใน 1 ศตวรรษจะมีทั้งหมด 1,200 เดือน โดยจะเกิดดวงจันทร์เต็มดวงได้ถึง 1236.83 

ครั้ง แต่จะเป็นบลูมูน แค่ 36.83 ครั้ง เฉลี่ย แล้วประมาณ 2.72 ปีต่อครั้ง หรือประมาณ

3% ของฟูลมูน จะเป็นบลูมูน แต่ที่ พิเศษกว่านั้นคือจะมีการ เกิดบลูมูนปีละ 2 ครั้งใน

ทุก ๆ 19 ปี ซึ่งปีล่าสุดที่เกิดบลูมูน 2 ครั้งซ้อนในหนึ่งปี (Double Blue Moons) ก็คือปี 

พ.ศ. 2542 และถัดไปคือปี พ.ศ. 2561 สำหรับในวันที่ 31 สิงหาคม 2555 ผู้สังเกตจะ

เห็นดวง จันทร์เต็มดวง รอบที่สองในเดือนเดียวกันทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้เวลา 

ประมาณ 18.18 น. โดยดวง จันทร์เต็มดวงอย่างสมบูรณ์เวลาประมาณ 20.57 น. และ

ตกทางทิศตะวัน ตกเฉียงใต้ในเช้าของวันที่ 1 กันยายน 2555 เวลาประมาณ 05.37 น. 

ตามเวลา ประเทศไทย ทั้งนี้ ดวง จันทร์จะสว่างเต็มดวง เหมือนเช่นเคยโดยไม่เปลี่ยน

เป็นสีน้ำเงินแต่อย่างใด และ เรายังสามารถสังเกต เห็นปรากฏการณ์ Blue Moon ครั้ง

ต่อไปได้ในวันที่ 02 กรกฎาคม 2558

8/28/2555

นีลอาร์มสตอง


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นีล แอลเดน อาร์มสตรอง
Neil Alden Armstrong

นีล อาร์มสตรอง ถ่ายรูปหน้าภาพดวงจันทร์
เกิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2473
Flag of the United States รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา[1]
ตาย25 สิงหาคม พ.ศ. 2555
Flag of the United States โคลัมบัส รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
ชื่ออื่นนีล อาร์มสตรอง
รางวัลPresidential Medal of Freedom Congressional Space Medal of Honor
ลายมือชื่อ
นีล แอลเดน อาร์มสตรอง (อังกฤษNeil Alden Armstrong5 สิงหาคม พ.ศ. 2473 — 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555) เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน และเป็นมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลก
อาร์มสตรองเกิดที่รัฐโอไฮโอ จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การนาซามาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล
พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เขาเป็นผู้บัญชาการของโครงการโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์ โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์
เขากล่าวประโยคนี้เมื่อเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์
Cquote1.svg
That's one small step for [a] man, one giant leap for mankind.
นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
Cquote2.svg
วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 อาร์มสตอร์งเสียชีวิตใน ซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ[2] ขณะอายุได้ 82 ปี เนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้น

8/23/2555

ฮาดีพี่ธัมม์ขำดีพี่จอบส์


คนข้างสนาม
เล่าให้อ่าน วิพากษ์ วิจารณ์ เสนอแนะ ได้เรื่องบ้าง ไม่ได้เรื่องบ้าง ตามสะดวก
Permalink : http://www.oknation.net/blog/attawut08
วันพุธ ที่ 22 สิงหาคม 2555
Posted by หมูสนาม , ผู้อ่าน : 2410 , 07:12:55 น.
หมวด : การศึกษา 

 พิมพ์หน้านี้ 
  โหวต 3 คน

ตามธรรมเนียมบ้านผม เมื่อถึงเทศกาล ตรุษจีน สารทจีน เช็งเม้ง
ผมต้องเผากระดาษเงิน กระดาษทอง ข้าวของเครื่องใช้ส่งไปให้อาม่าของผมใช้
บนสวรรค์ทุกปี

ในบรรดาเครื่องใช้เหล่านี้จะมีโทรศัพท์มือถือรวมอยู่ด้วย

มาระยะหลังโทรศัพท์ที่ส่งไปจะเป็นพวก iPod  iPad  iPhone

จนอาม่าผมต้องมาเข้าฝันบ่นให้ผมฟังทุกทีว่า

พวกลื้อส่งของพวกนี้มาทำไม อาม่าใช้ไม่เป็น

ไปหารุ่นที่ปุ่มกดใหญ่ๆ ฟังชั่นน้อยๆส่งมาให้บ้างซิ

ส่งรุ่นที่อาม่าเคยใช้ก่อนตายก็ได้อาม่าชอบ...........

แต่ขอโทษ......โทรศัพท์รุ่นที่อาม่าผมอยากได้ไปใช้บนสวรรค์

ผมหาจนทั่วแล้วไม่มีร้านกระดาษไหว้เจ้าร้านไหนทำขายเลยสักร้านเดียว

ผมเลยมั่วนิ่มส่ง iPhone ไปให้ใช้เหมือนเดิม

แล้วก็โดนบ่นว่าต้องโยนทิ้งเหมือนเดิมทุกปีเพราะใช้ไม่เป็น

มาปีนี้มีเรื่องแปลก ผมได้รับ e-mail ฉบับหนึ่งจากอาม่าของผม เขียนมาสั้นๆว่า

สารทจีนที่จะถึงในปีนี้ ส่ง iPhone iPad รุ่นใหม่ๆมาให้อาม่าใช้ด้วย

อาสตีฟ จ็อบส์  อีมาเปิดคอร์สสอนใช้ IPhone  Ipad บนสวรรค์

อาม่าไปลงทะเบียนเรียนตรงกับอีหลายครั้งแล้ว

โทรศัพท์ของอีดีนา ถ่ายรูป แล้ว ส่ง e-mail ได้ด้วย 5555 


หมายเหตุ จขบ.

คำถามประเภทตายแล้วไปไหน จัดเป็นอัพยากตปัญหา 

คือคำถามที่พระศาสดาไม่ทรงพยากรณ์(ไม่ตอบชัดไปทางใดทางหนึ่ง)

เพราะคนมักง่ายๆ คนตอบส่งเดช หรือใครๆที่นึกสนุกอยากตอบ หรือคนอยากได้เงินบริจาคก็ตอบได้

คนฟังที่ฟังแล้วเชื่อเลยก็แล้วไป 

คนที่ฟังแล้วไม่เชื่อต่อให้เถียงกันอีก 5000ปี ก็ไม่มีข้อยุติ

อยากบอกคนที่ฟังแล้วเชื่อเลยไว้หน่อยจะได้เตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ

เตรียมเงินเอาไว้บริจาคเยอะๆ จะได้ไปอยู่ใกล้ๆบ้านสตีฟ จ็อบส์ 

ธัมมชโย สตีฟจอบส์

 พูดแบบที่ ธัมมชโยพูดถึง สตีฟ จอบส์ นั้น ใคร ๆ มันก็พูดได้ แต่หากพระเป็นผู้พูด ถ้าไม่จริง ผู้พูดก็กลายเป็นพระที่เลวทรามvote   ติดต่อทีมงาน
  ศาสนาพุทธ และบุคลากรทางพุทธศานานั้น ได้รับเครดิตสูงมากในสังคมไทย  ดังนั้น เวลาพระสงฆ์พูดอะไรออกมา  คนที่เคารพนับถือพระรูปนั้น ก็จะเชื่อทันที ..... ไม่เคยสนใจ ไม่เคยเอะใจว่า พระนั่นจะโกหก หรือไม่

 และที่คัญ ก็คือ คนส่วนใหญ่ ไม่รู้หรอกว่า.... การที่พระพูดแบบนั้น นั้น......สุ่มเสี่ยงต่อการกลายเป็น "พระที่เลวทราม ต่ำช้าที่สุด"  ในสังคมพระสงฆ์

  ตามหัวข้อกระทู้ ที่ผมตั้งไว้นั้น หมายถึงว่า

 ๑. แม้เด็ก 7 ขวบ ก็สามารถพูดแบบที่พระธัมชโยพูด แล้วได้รับการเชื่อถือมาก ก็เป็นไปได้  ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ฟังนั้น มีความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนามากน้อยแค่ไหน...ดูอย่างกรณี หมอเด็ก หมอน้อย หมอยาผีบอกต่าง ๆ ฯลฯ  ในภูมิภาค ชนบทห่างไกล ของไทย ที่ปรากฎให้เห็นออกจะบ่อย ๆ  คนก็เชื่อ  ในอิทธิฤทธิ์ เป็นพันเป็นหมื่น ก็เคยมี...คนไทยพร้อมที่จะเชื่อสารพัด ความเชื่ออยู่แล้วครับ

 ๒. หากอดีตเณรแอ อดีตพระยันตระ หรืออดีตสมีโล้นต่าง ๆ   สารพัดสมี พวกนั้น ที่เคยย่ำยีสังคมพุทธ  ออกมาพูดแบบที่ธัมชโยพูด  ก็แน่นอนครับ ย่อมมีคนเชื่อจำนวนหนึ่งเหมือนกัน

 ๓. หากพวกสแกนกรรม หรือพวกจิตสัมผัส เพ้อ ๆ เจ้อ ๆ ออกมาพูด ก็แน่นอนครับ จะมีสาวกโง่ ๆ อีกจำนวนหนึ่ง เชื่อถือเหมือนกัน

 ๔. แน่นอนว่า หากใครอยากจะทดลองอะไรบางอย่าง ในสังคมไทย โดยหาคนผอม ๆ (แก่ ๆ หน่อย) จับมาโกนหัว ห่มเหลือง อบรมพิเศษ สักสองสามวัน เรื่องศัพท์แสง ภาษาต่าง ๆ  แล้วให้ทำทีเป็นว่า เดินธุดงค์ ออกมาจากป่า  ..

    เริ่มเล่าเรื่องพวกพยานาค  คนธรรพ์ ผีขโมด เปรตลิ้นห้อย ฯลฯ ซะก่อน  จนคนฟังเคลิ้ม  จากนั้น ก็เริ่มพยากรณ์ ภพภูมิ ของสตีฟ จอบส์ แบบที่ธัมชโย แกนั่งหลับตาพูดมั่ง  ก็รับรองว่า คนไทยจำนวนมาก ก็จะเชื่อเหมือนกัน

  (ที่จริง ธัมชโย แกไม่ได้หลับตาพูดตลอดหรอกนะ  สายตาแก หลุกหลิก ๆ มาก  ไม่มีแววของผู้สำรวมเลยด้วยซ้ำ...  เมื่อก่อน ถึงต้องสวมแว่นตาดำ เพื่อหลบสายตา ที่เหลือบ ๆ หลุก ๆ หลิก ๆ เหมือนขโมย แบบนั้น)

    ก็สรุปว่า ใคร ๆ ก็พูดได้ ในเรื่องแบบนี้  พูดไปเหอะ คนเชื่อมากบ้าง น้อยบ้าง เพราะเรื่องแบบนี้ พิสูจน์กันไม่ได้อยู่แล้ว...เพราะหากใครอยากจะพิสูจน์  ก็ต้องแลก ด้วยการ   "ต้องตาย"  ไปพิสูจน์ ด้วยตนเอง

              ใครอยากไปพิสูจน์บ้าง.....?  ขอเสียงหน่อย ๆ


ที่มา : http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12551195/Y12551195.html

8/21/2555

เรื่องค่าของ Resolution Photoshop

   รู้จักกับค่ความละเอียดของภาพ  (Resolution)
    Resolution คือ ค่าความละเอียดของภาพ ๆ หนึ่งซี่งกำหนดเป็นจำนวนเม็ดสี (pixels) ต่อหนึ่งหน่วยความยาวของภาพ ตัวอย่างเช่น หากภาพนั้นมีค่า Resolution = 150 pixels/inches แสดงว่าในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วของภาพนั้นประกอบไปด้วยเม็ดสีจำนวน 150 สี (Pixels) เป็นต้น 
 ภาพที่มีความละเอียด Resolution ต่ำ
    (มีจำนวนเม็ดสีน้อย)
   ภาพที่มีความละเอียด Resolution สูง
(มีจำนวนเม็ดสีมากกว่าในขณะที่มีพื้นที่เท่ากัน)


ทำไมเราต้องกำหนดค่า Resolution
       
ในการทำงานนั้นจะต้องอ้างอิงถึงค่า      อยู่เสมอเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการใช้งานประเภทต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับขนาดไฟล์งานอีกด้วย เพราะงานที่มีค่า   Resolution      สูงก็จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณประมวณผลช้าลงในกรณีที่สเปคเครื่องไม่สูงนัก ซึ่งหน่วยของ  Resolution ที่ใช้กันอยู่   2 แบบคือ

          pixels/inch - จำนวนหรือปริมาณของเม็ดสี   ในพื้นที่ 1 ตารางนิ้ว
          pixels/cm   - จำนวนหรือปริมาณของเม็ดสี   ในพื้นที่ 1 ตารางเซ็นติเมตร
          ค่า    Resolution ที่เรานิยมใช้คือ  จำนวนพิเซลต่อนิ้ว หรือ  pixels/inch  ( ppi )  นั่นเอง

  ภาพขนาด  1024x768  Resolution = 300 ppi
       ขนาดไฟล์ 2.87M เมื่อขยาย 200 เท่า
  ภาพขนาด  1024x768  Resolution = 72 ppi
       ขนาดไฟล์ 169 k เมื่อขยาย 200 เท่า
 นอกจากภาพที่มีค่า Resolution สูงจะใช้คววามคมชัดกว่าแล้ว ขนาดไฟล์งานก็จะใหญ่กว่าด้วย


  กำหนดค่า   Resolution  อย่างไรดี       ในการใช้งานทั่วๆ ไปเรามักกำหนดความละเอียดของงานหรือค่า Resolution อยู่ที่ 100-1150 ppi (pixels/inch) แต่สำหรับการทำงานเกี่วกับเว็บไซค์นั้นเราจำเป็นต้องใช้งานที่มีความละเอียดน้อยเพื่อให้มีการแสดงผลที่รวดเร็ว จึงมักใช้ค่า Resolution = 72 ppi
  
         สำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์เรามักจะกำหนหดค่า Resolution อยู่ที่ 300-350 ppi เพราะต้องการความคมชัดในการแสดงผลสูง เช่น งานออกแบบสิ่งพิมพ์ งานนิตรสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ และสมุดภาพเป็นต้น


การตั้งค่าของ Resolution ให้ไปที่   Image - Image size


8/18/2555

ถ่ายรูปด้วยโหมด P A S M


บทความถ่ายภ
บทความถ่ายภาพ
โหมด Auto P A S M ของกล้อง แตกต่างกันอย่างไร
โหมดถ่ายภาพของกล้องนั้น หลายๆรุ่นอาจจะมีไม่เหมือนกัน แล้วแต่ลูกเล่นของแต่ละค่าย แต่ที่มีอยู่แบบมาตรฐานๆ ทั่วๆไปก็มี Auto, P, A, S, M ทั้งหมด 5 โหมดนี่หละครับ ที่ใช้กันบ่อยที่สุด

เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละโหมดมีหน้าที่อย่างไรกันบ้าง

Auto : ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Auto ก็คือการทำงานของกล้องแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม ท่านสามารถถ่ายได้อย่างรวดเร็ว กด "ฉับ" เดียวได้รูปเลยครับ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยภาพที่อาจจะไม่ค่อยดีเท่าที่กล้องควรจะทำได้ ถ้าเราลองถ่ายในสภาพแสงที่น้อยๆ มีความแปรปรวนของสภาพแสงมากหน่อย การใช้โหมด Auto อาจไม่ใช่คำตอบครับ

P : ก็คือ Program โหมดนี้ก็คือโหมด Auto แปลงร่างมานั่นเอง ซึ่งการทำงานโหมดนี้ กล้องจะคำนวนรูรับแสงและความไวชัตเตอร์ ให้โดยอัตโนมัติ แต่เราสามารถกำหนด ISO และการชดเชยแสงได้ โหมดนี้เหมาะสำหรับคนที่พอควบคุมกล้องได้บ้าง ถ่ายสนุกดีครับ แต่ก็ยังไม่สามารถรีดประสิทธิภาพของกล้องได้ไม่เต็มที่เช่นเดียวกับโหมด Auto

A, AV : ก็คือ Aperture Priority เป็นโหมดที่เรากำหนดรูรับแสงเอง โดยกล้องจะคำนวณความไวชัตเตอร์ให้โดยอัตโนมัติ เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล หรือภาพอะไรก็ตาม ที่ต้องการกำหนดรูรับแสงไว้ค่าใดค่าหนึ่งเสมอ แต่มีข้อควรระวังคือ เราต้องคอยดูความไวชัตเตอร์ไว้เสมอ เพราะถ้าไม่พอภาพก็อาจจะเบลอ เสียได้ครับ ทาแก้ก็คือ ดันISO เพิ่มขึ้นครับ เราจะได้ความไวชัตเตอร์ที่มากขึ้น

S : ก็คือ Shutter Priority คือโหมดที่เรากำหนดความไวชัตเตอร์เอง โดยกล้องจำคำนวณรูรับแสงให้โดยอัตโนมัติ เหมาะกับการถ่ายแบบ แพนกล้อง ถ่ายภาพAction ภาพกีฬา หรือภาพใดๆที่เราต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของแบบเอาไว้ แต่ระวังภาพมืดนะครับ ถ้าหากเราปรับความไวชัตเตอร์มากไป แต่ลืมดูไปว่ารูรับแสงกว้างพอสำหรับสภาพแสงขณะนั้นหรือไม่ ทางแก้ก็คือ ดันISO ช่วยอีกแล้วครับ ^ ^

M : Manual คือโหมดที่เราควบคุมกล้องเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูรับแสง หรือความเร็วชัตเตอร์ เป็นโหมดที่ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ภาพของเราได้อย่างเต็มที่ครับ อาจจะช้าสำหรับการปรับตั้งค่าก่อนถ่าย ทำให้ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพที่ต้องเร่งรีบซักเท่าไหร่ เว้นแต่ใครที่ปรับเก่งๆ ไวๆ วัดแสงแม่นๆ ก็ทำให้กล้องสามารถ สร้างภาพถ่าย ที่ดีที่สุดออกมาได้ครับ

สรุปแล้ว การถ่ายภาพ ไม่ว่าจะโหมดใดก็แล้วแต่ ก็ไม่สำคัญเท่ากับ มุมมอง และก็ความสร้างสรรค์ของคนถ่ายภาพครับ แล้วก็ไม่จำเป็นตายตัวว่าจะต้องใช้โหมดไหนโหมดนั้นอย่างเดียว เราควรจะใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ฺมากกว่าครับ อย่างเช่นผมจะถ่ายด้วยโหมด A เป็นหลักครับ, S เอาไว้ถ่ายภาพกีฬา แอคชั่น, M เอาไว้ถ่าย ภาพที่แปลกตาออกไป เช่นถ่ายภาพแสงไฟถนนกลางคืน น้ำตกที่นุ่มนวล เป็นต้นครับ แต่ถ้าเมื่อไหร่ต้องใช้แฟลชร่วมในการถ่ายภาพ ผมจะ้ใช้แต่โหมด M เท่านั้นครับ ยิ่งเ้ป็นกลางคืนด้วยแล้ว โหมด M ดูจะเป็นโหมดที่ตอบโจทย์ผมได้ดีทีเดียวครับ


8/17/2555

ความหมาย ชัดตื้น ชัดลึก


ชัดตื้น ชัดลึก

ระยะชัดลึก Dept of Field
         การเริ่มต้นถ่ายภาพจริงจังสำหรับมือใหม่ นอกจากการฝึกปรับความชัดแม่นยำ และถูกตำแหน่งแล้ว ยังต้องเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการควบคุมระยะชัดลึกของภาพ ซึ่งบ่อยครั้งที่ช่างภาพมืออาชีพที่มีประสบการณ์ยังต้องตกม้าตายกับเรื่องนี้ สาเหตุมาจากการใช้กล้องถ่ายภาพที่มีระบบอัติโนมัติมากมาย ทำให้ละเลยที่จะเรียนรู้พื้นฐานการถ่ายภาพที่สำคัญ เช่นการควบคุมระยะชัดลึก ส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความสมบูรณ์ไปอย่างน่าเสียดาย
ระยะชัดลึก( Depth of field) คืออะไร

       ระยะชัดลึก บางครั้งก็เรียกว่าความชัดลึก คือควมชัดด้านหน้าและด้านหลังของตำแหน่งที่เราปรับความชัด เช่นหากถ่ายภาพบุคคลเต็มหน้าและปรับความชัดที่ดวงตา ในทางทฤษฎีภาพจะชัดเฉพาะที่ระนาบของดวงตาเท่านั้น (ไม่สามารถปรับความชัดหลายๆระนาบได้ เช่น ไม่สามารถปรับความชัดที่ 3,4 หรือ 5 เมตรในภาพเดียวกันได้ตอ้งปรับความชัดที่ระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้น) ลำแสงจากวัตถุที่เราปรับโฟกัสให้ชัดจะไปตัดกับจุดระนาบฟิล์มพอดี แต่ความชัดจะบางเหมือนแผ่นกระดาษและอยู่ระนาบเดียวกับระนาบเซ็นเซอร์ สำหรับกล้องถ่ายภาพปกติ(ยกเว้นกล้องที่สามารถปรับมุมของระนาบเลนส์และระนาบฟิล์มได้ เช่นกล้องวิว หรือกล้องบางประเภทเท่านั้น ที่สามารถบิดระนาบความชัดไปมาได้) ทำให้ส่วนที่เป็นแก้ม ใบหู ฉากหลังและฉากหน้าเบลอไป เพราะลำแสงของภาพจากส่วนที่ไม่ใช่ความชัดนี้จะไม่ตัดกันเป็นจุด แต่จะตัดกันเป็นวงกลมขนาดใหญ่แทน ทำให้ภาพนอกระยะตำแหน่งปรับความชัดเบลอไป เราเรียกจุดและวงกลมที่เกิดจากลำแสงไปตัดกันที่ระนาบฟิล์มนี้ว่า Circle of confusion

    ในทางปฎิบัติเราสามารถควบคุมความชัดของภาพให้เพิ่มขึ้นจากระนาบความชัดได้ โดยการลดขนาดลำแสงที่ผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มมีขนาดเล็กลง นั่นคือการลดขนาดรูรับแสงของเลนส์ให้เล็กลง ยิ่งหรี่ขนาดรูรับแสงเพิ่มขึ้นเท่าไร จะทำให้วงกลมนี้เล็กลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฟิล์มและสายตาไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่า ลำแสงตัดกันเป็นจุดหรือวงกลมทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมาได้ นั่นคือ การเกิดระยะชัดทางด้านหน้าและด้านหลังระนาบที่ถูกปรับให้ชัด หรือเป็นการเกิด Depth of field นั่นเอง

     ขนาดของ Circle of confusion ใหญ่ที่สุดซึ่งกลายเป็นจุดอันจะทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมา เราเรียกว่า Permissible circle of confusion ซึ่งขนาดของวงกลมดังกล่าวนี้ จะมีการกำหนดไม่เท่ากันในผู้ผลิตเลนส์แต่ละราย เพราะขนาดของ circle of confusion ขึ้นกับระยะที่มองภาพอัตราขยายภาพ ความแตกต่างของสี

หรือแสงระหว่างฉากหน้ากับฉากหลัง
     แสงสว่างที่ส่องมายังภาพ รวมไปถึงสายตาของผู้มองภาพด้วย เช่น ถ้าเรามองภาพจากระยะไกล เราจะแยกภาพชัดกับไม่ชัดยากกว่าการมองภาพใกล้ๆ และการขยายภาพขนาดเล็กกับขนาดใหญ่มากๆ ก็จะแสดงความชัดกับไม่ชัดของภาพออกมาได้มากกว่า แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ดูภาพส่วนใหญ่จะมองภาพด้วยระยะห่างประมาณ เส้นทแยงมุมของภาพอันเป้นเรื่องของมุมรับภาพของสายตา หากภาพมีขนาดเล็กก็จะดูภาพในระยะใกล้ ภาพขนาดใหญ่ก็จะดูภาพจากระยะไกล ดังนั้น เราจึงถือว่าอัตราขยายภาพและระยะการมองไม่มีผลต่อขนาดของ   Circle of confusion ในทางปฎิบัติ

    โดยมาตรฐานแล้ว จะกำหนดระยะการมองภาพไว้ที่ 10 นิ้ว ด้วยปัจจัยหลายประการนี้เอง ทำให้เลนส์ต่างยี่ห้อที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากัน ขนาดรูรับแสงเท่ากัน แต่มีตัวเลขความชัดลึกที่กระบอกเลนส์ไม่เท่ากัน แต่ภาพที่ถ่ายออกมานั้นจะมีความชัดลึกเท่ากัน และที่น่าแปลกใจคือ ไม่ได้มีข้อกำหนดร่วมกับเลนส์ของผู้ผลิตแต่ละรายว่าควรจะใช้ ขนาดของ Circle of confusion นี้เท่าไร  ตามมาตรฐานทั่วไปจะกำหนดที่ขนาด 1/1000 นิ้ว หรือ 0.003937 มม. แต่ในการผลิตจริง ของผู้ผลิตเลนส์จะมีค่าตั้งแต่ 1/70 ถึง 1/200 นิ้ว


ชัดลึกและชัดตื้น

      ระยะชัดทางด้านหน้าของตำแหน่งที่ปรับความชัด เราจะเรียกว่า ชัดตื้น ส่วนระยะชัดด้านหลังของระนาบความชัด เราเรียกว่าชัดลึก ระยะชัดจากด้านหลังสุดเราเรียกว่า ช่วงความชัด เช่นเลนส์ขนาด 50 มม. ปรับความชัดที่ระยะ 3 เมตร ปรับขนาดรูรับแสง f/16 ระยะชัดด้านหน้าอยู่ที่ 2 เมตร ระยะชัดด้านหลังอยู่ที่ 10 เมตร ถึง 10 เมตร หรือมีช่วงระยะชัด 8 เมตร เป็นต้น

    กลอ้งถ่ายภาพ 35 มม. DLR หรือกลอ้งดิจิตอล SLR ในปัจจุบันเป็นระบบ Auto Diaphragm ซึ่งเลนส์จะเปิดรูรับแสงกว้างสุดเอาไว้ตลอดเวลา  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับความชัด (ปรับโฟกัส) และช่องมองภาพได้ง่ายขึ้น  ดังนั้นภาพที่ปรากฏในช่องมองภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยที่สุดของเลนส์ที่กำลัง ใช้งานอยู่ เมื่อชัตเตอร์บันทึกภาพ ระบบควบคุมของกล้องจะทำให้รูรับแสงหรี่ลงมาตามขนาดรูรับแสงจริงที่เราตั้งเอาไว้จากนั้นชัตเตอร์จึงทำงาน หลังจากที่ชัตเตอร์ปิด รูรับแสงก็จะเปิดกว้างสุดเหมือนเดิม หากถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงแคบ เช่น f/11 คุณก็จะได้ภาพถ่ายที่มีระยะชัดลึกมากกว่าที่มองเห็นในช่องมองภาพ

    ชัดลึกและชัดตื้นจะมีความหมายในอีกกรณีหนึ่ง คือการชัดและเบลอของฉากหน้าและฉากหลัง ถ้าฉากหน้าและฉากหลังเบลอมากเราเรียกว่า ชัดตื้น หากชัดมากเราจะเรียกว่าชัดตื้น แต่เนื่องจากความชัดลึกชัดตื้นในกรณีนี้เป็นความรู้สึกของผู้ดูภาพซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป
การควบคุมความชัดลึก
       คุณสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ด้วยตัวเอง ความชัดลึกของภาพกำหนดโดยขนาดของ Circle of confusion ซึ่งถ้าเราให้เลนส์แต่ละยี่ห้อมีขนาด  Circle of confusion  เท่ากันแล้ว เราจะรู้ได้ว่าเลนส์ทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะแพงหรือถูกเพียงใด หากมีทางยาวโฟกัสเท่ากันและขนาดรูรับแสงเท่ากัน จะมีระยะชัดลึกเท่ากันด้วยอัตราการขยายภาพไม่มีผลต่อความชัดลึกของภาพดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้และเราสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ 3 วิธี
 
การควบคุมขนาดรูรับแสง (F-Number)
    การลดขนาดรูรับแสงลง จะทำให้ระยะชัดลึกด้านหน้าและด้านหลังจุดปรับความชัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าความชัดที่เห็นในช่องมองภาพนั้นเป็นความชัดที่ขนาดรูรับแสงกว้างสุด หากต้องการตรวจสอบว่าค่ารูรับแสงที่ใช้จะทำให้ระยะชัดลึกมากน้อยเพียงใด สามารถทำได้โดยการกดปุ่มเช็กชัดลึกที่ตัวกลอ้ง (ถ้ามี)

 ระยะปรับความชัด ( Focusing distance)
    ระยะชัดลึกจะแปรผันตามระยะชัด การปรับความชัดใกล้ขึ้นจะทำให้ภาพมีความชัดลึกลดลง พูดง่ายๆคือ ยุ่งถ่ายภาพใกล้มากเท่าใด ภาพก็จะมีระยะชัดน้อยลงตามลำดับ

ทางยาวโฟกัสของเลนส์ ( Focal Length)
    เมื่อถ่ายภาพที่ระยะห่างและขนาดรูรับแสงเดียวกัน เลนส์เทเลโฟโต้จะให้ภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยกว่าเลนส์มุมกว้าง ยิ่งทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้นเท่าไร ช่วงระยะชัดลึกก็จะน้อยลงตามลำดับ 

บทสรุป

       เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับระยะชัดลึกแล้ว คุณสามารถนำความรู้นี้ ไปใช้ในการควบคุมระยะชัดลึกของภาพได้ และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จะช่วยให้การตัดสินใจในเรื่องของ การควบคุมระยะชัดลึก เป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่นเมื่อต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้คมชัดทั้งภาพ คุณต้องใช้เลนส์มุมกว้างที่มีคุณสมบัติชัดลึกมากกว่าเลนส์เทเล แล้วปรับรูรับแสงแคบเพื่อเพิ่มระยะชัด  แต่ถ้าตอ้งการถ่ายภาพให้ชัดตื้น เช่นถ่ายภาพบุคคลให้ฉากหลังเบลอ ตอ้งเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ เช่น  100 หรือ 200 mm. ถ่ายภาพโดยเปิดรูรับแสงกว้างสุดและเข้าไปถ่ายภาพใกล้ๆ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ภาพที่ชัดตื้นหรือมีฉากหลังเบลออย่างง่ายดาย
ขอบคุณบทความจากนิตรสาร
นิตรสาร SHUTTER PHOTOGRAPHY  
เเละขออนุญาตนำภาพของคุณ Photo by smoon มาเพื่อประกอบบทความด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ 

8/14/2555

ที่มาของคำว่าข้าวเจ้า

 คุณเคยสงสัยไหมว่า   ข้าวสีขาวๆที่เรากินกันนั้น  ทำไมถึงเรียกว่า "ข้าวเจ้า"  คำนี้มีที่มาดังนี้คือ  ในสมัยก่อนนั้น  ชาวนาเมื่อเกี่ยวข้าวมาแล้ว  เขาจะนำข้าวเปลือกมาตำที่ครกให้เปลือกหลุดออกไป  มันก็เลยมีข้าวกล้อง  ข้าวซ้อมมือกินกัน  ซึ่งมันมีสีขุ่นๆ ไม่ขาวสวย   ต่อมาเมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีการสีข้าวเขามาในประเทศ  แล้วมีการตั้งโรงสีข้าวขึ้น  และรับซื้อข้าวจากชาวนามีสีให้ขาวสวย   แต่เนื่องจากราคาสีข้าวในสมัยก่อนนั้นมันราคาแพงมาก   ก็เลยมีแต่พวกขุนนาง , เจ้านาย , พระบรมวงศานุวงศ์  นำข้าวมาสีไปกินกัน   ชาวบ้านเลยเรียกข้าวที่สีจนขาวว่า "ข้าวเจ้า" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
          เป็นไงครับตอนนี้ก็ทราบแล้วว่า  ข้าวที่สีจนเป็นสีขาวทำไมถึงเรียกว่า "ข้าวเจ้า"  แล้วพบกันใหม่คราวหน้าครับ

จาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=34107

ที่มาของคำว่าขนมจีน



ขนมจีน เป็นอาหารคาวอย่างหนึ่งของไทย ประกอบด้วยเส้นเรียกว่า เส้นขนมจีน และน้ำยา หรือน้ำยาขนมจีน เป็นที่นิยมทุกท้องถิ่นของไทย แต่มีการปรุงน้ำยาแตกต่างกัน
แม้ ว่า ขนมจีน จะมีคำว่า “ขนม” แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับขนมใดๆ ขณะเดียวกัน แม้จะมีคำว่า “จีน” แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารของจีน ภาษาเหนือเรียก ขนมเส้น ภาษาอิสาน เรียก ข้าวปุ้น จะมีขนมจีนชนิดหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับขนม คือ ขนมจีนซาวน้ำ เพราะมีรสหวาน
ประวัติ
คำว่า “ขนมจีน” ไม่ใช่ของอาหารจีน แต่คำว่า “จีน” ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญซึ่ง เรียกขนมจีนว่า “คนอมจิน” (คะนอมจิน) หมายถึง “สุก 2 ครั้ง” พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า ” จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก” นอกจากนี้ “คนอม” (คะหนอม) นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย “เข้าหนม” แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น “ขนม” จริง ๆ แล้ว ขนม ในความหมายดั้งเดิมจึงมิใช่ของหวานอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน ขนม หรือ หนม ในภาษาเขมร หรือ คนอม (คะหนอม) ในภาษามอญหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้ง ดังนั้นขนมจีน จึงน่าจะเพี้ยนมาจาก คนอมจิน (คะนอมจิน) ซึ่งทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาอีกว่า ดั้งเดิมทีเดียวขนมจีนเป็นอาหารมอญ แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณกาล จนเป็นอาหารที่ทำงานและมีความนิยมสูง สามารถหาทานได้ทั่วไป
เส้นขนมจีน
ชนิดของเส้น  วิธีการทำเส้นขนมจีนนั้นในคุณลักษณะเหมือนกัน มีความแตกต่างมากในวิธีทำทั้ง 2แบบต่อไปนี้
  • เส้นหมัก
ใช้วิธีการหมักแป้งข้าวเจ้าโดย นำแป้งข้าวเจ้ามาแช่น้ำให้นิ่ม และนำไปโม่ก่อนหมักประมาณเจ็ดวันเมื่อหมักแล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้ง
  • เส้นสด
ใช้วิธีการผสมแป้งข้าวเจ้า ไม่ต้องทิ้งไว้แล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้งจะได้เส้นที่เล็กและนุ่ม
วิธีทำให้เป็นเส้น
ทำมาจากแป้ง ข้าวเจ้า หรือ ถ้าเป็นสมัยนี้ก็แป้งขนมจีนสำเร็จ แต่ต้องนำมานวดก่อน หลังจากนั้นให้เทแป้งใส่กระบอกทองเหลือง มีรูเจาะไว้ที่ปลายด้านหนึ่ง เมื่อกดแป้งเข้าไปในกระบอก เส้นขนมจีนก็จะไหลออกจากปลายกระบอก เป็นเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 1.5 มิลลิตร นวด เสร็จก็นำเข้าเครื่องบีบเพื่อทำให้เป็นเส้นขนมจีน เมื่อได้เส้นแล้วก็ทำต้มในน้ำร้อนเดือดเพื่อทำความสะอาด แล้วนำมาร้าดด้วยน้ำสะอาดอีกทีหนึ่งก่อนที่จะนำเส้นไปจับเป็นจับ โดยเส้นขนมจีนที่ได้ มักจะจัดเรียงเอาไว้เป็นกลุ่มๆ ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือ บางถิ่นเรียก จับ หรือ หัว เมื่อเรียงในจานสำหรับรับประทาน จะใส่ประมาณ 3-4 จับนำขนมจีนมาวางใส่ตระกตะกร้าขนมจีนจะต้องรองด้วยใบตองก่อนที่จะ
ชื่อเรียกขนมจีน
ภาคเหนือ เรียกว่า ขนมเส้น, ภาคอีสาน เรียกว่า ข้าวปุ้น, ภาคกลาง เรียกว่า ขนมจีนภาคใต้ เรียกว่า ขนมจีน,ภาษาอังกฤษ อาจเรียก Thai vermicelli (vermicelli เป็นเส้นหมี่ชนิดหนึ่งของอิตาลี คล้ายเส้นสปาเก็ตตี้แต่มีขนาดเล็กกว่า)
น้ำราดขนมจีน
น้ำยาขนมจีนนั้น มีลักษณะคล้ายน้ำแกง ไม่เหลวจนเกินไป ใช้ราดไปบนเส้นขนมจีนในจาน แต่ละท้องถิ่นจะมีน้ำยาแตกต่างกันไป เช่น น้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก น้ำแกง น้ำเงี้ยว แกงไตปลา ซาวน้ำ สำหรับเด็กก็ยังมี น้ำยาหวานที่ไม่มีรสเผ็ดและมีส่วนผสมของถั่ว เป็นต้น
การรับประทาน
เมื่อ เรียงจับขนมจีนลงในจับแล้ว ผู้รับประทานจะราดน้ำยาลงไปบนเส้นขนมจีนให้ทั่ว ใช้ช้อนตัดเส้นขนมจีนให้มีความยาวพอดีคำ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำยา (บางท่านนิยมรับประทานขนมจีนกับน้ำปลา นอก จากน้ำยาแล้ว ยังมีเครื่องเคียงเป็นผักสดและผักดอง ตามรสนิยมในแต่ละท้องถิ่น ทว่าไม่นิยมเติมเครื่องปรุงรสอื่นๆ ในขนมจีน แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานกับเครื่องเคียงประเภททอด เช่น ทอดมัน ดอกไม้ทอด หรืออื่นๆ ตามแต่ความชอบและความนิยมในแต่ละภาค


จาก : http://student.sut.ac.th/b5472932/wordpress/?page_id=70





ที่มาของคำว่าลอดช่องสิงคโปร์


ทำไมเรียกลอดช่องสิงคโปร์เกี่ยวอะไร กับประเทศสิงคโปร์ขนมไทย ภูมิปัญญาคนไทย ศาสนาพุทธ ปัญหาคาใจ
5 คะแนน ปิดแล้ว 5 คำตอบ มีการดู 5648 ครั้ง
0
ทำไมเรียกลอดช่องสิงคโปร์เกี่ยวอะไร กับประเทศสิงคโปร์
 คำตอบที่ดีที่สุด
2
        ใครจะ รู้บ้างว่า คำว่า ลอดช่องสิงคโปร์นั้น แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ 
แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว 
รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว แต่หลาย
คนคงสงสัยว่าแล้วคำว่า สิงคโปร์ล่ะ มาจากไหน ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันจนติดปาก ถึงบริเวณที่
ตั้งร้านนี้ ที่เป็นเจ้าแรก ในการทำ “ลอดช่องสิงคโปร์” นั่นเอง

        เพราะ หากย้อนไปเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ร้านนี้บังเอิญไปตั้งอยู่บริเวณ หน้าโรงภาพยนต์

สิงคโปร์ (เดิม) หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช และเมื่อลูกค้าจะไปทาน ก็มักจะเรียกว่า 
“ไปทานลอดช่องหน้าโรงหนัง สิงคโปร์” สุดท้ายก็เรียกให้สั้นลงว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” แทน


        ส่งผลให้ร้าน “สิงคโปร์โภชนา” เป็นร้านต้นกำเนิดลอดช่องสิงคโปร์ ที่เรียกกันติดปากมา

จนถึงปัจจุบัน โดยนายณรงค์ จักรธีรังกูร เจ้าของร้านสิงคโปร์โภชนา ได้ย้อนอดีตให้ฟังว่า ธุรกิจ
นี้เป็นของผู้เป็นพ่อ โดยได้รับการถ่ายทอดสูตรมาจากเพื่อนอีกทีหนึ่ง ซึ่งรวมระยะเวลาที่ร้านลอด
ช่องสิงคโปร์เปิดบริการให้ลูกค้าได้ลิ้มลองก็ ประมาณกว่า 60 ปี โดยตั้งที่บริเวณแยกหมอมี ตรง
ข้ามธนาคาร UOB ถ.เจริญกรุง ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงหนังสิงคโปร์ จนกระทั่งถูกรื้อทิ้ง สร้างใหม่
เป็นโรงหนังเฉลิมบุรี

        ร้านลอดช่องสิงคโปร์ โภชนานั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นตำนานบนถนนเยาวราช เพราะไม่

เพียงแต่ความเก่าแก่ที่ครองใจผู้บริโภคมานานกว่า 60 ปีแล้ว ร้านนี้ยังถูกทางสำนักงานเขต
สัมพันธ์วงศ์ ได้ขอให้คงอยู่ไว้ เพราะถือว่าร้านนี้กลายเป็นตำนานและเป็นส่วนหนึ่งของเยาวราช
ที่ขาดไม่ได้ไป แล้ว

จากเว็บไซต์ : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3c32d24f17f49456